ใจความสำคัญ : เป็นบทสวดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระนิพนธ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นบทสวดแสดงความนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมีทั้งหมด ๘ บรรทัด แต่ละบรรทัดขึ้นต้นด้วยคำว่า นะโม ทั้งหมด จึงมีชื่อเรียกอย่างสามัญว่า บทนะโม ๘
อานุภาพ : ช่วยขจัดอุปสรรคอันตราย ให้เกิดความสุขสวัสดี และให้มีเดชอำนาจในมงคลพิธีต่างๆ
บทนโมการอัฏฐกคาถา
นะโม อะระหะโต สัมมา- สัมพุทธัสสะ มะเหสิโน
นะโม อุตตะมะธัมมัสสะ ส๎วากขาตัสเสวะ เตนิธะ
นะโม มะหาสังฆัสสาปิ วิสุทธะสีละทิฏฐิโน
นะโม โอมาต๎ยารัทธัสสะ ระตะนัตต๎ยัสสะ สาธุกัง
นะโม โอมะกาตีตัสสะ ตัสสะ วัตถุตต๎ยัสสะปิ
นะโมการัปปะภาเวนะ วิคัจฉันตุ อุปัททะวา
นะโมการานุภาเวนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา
นะโมการัสสะ เตเชนะ วิธิม๎หิ โหมิ เตชะวา.
ประวัติ : พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ที่มา : สวดมนต์ฉบับหลวง สมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว) หน้า ๔
ประยุกต์ใช้ : นะโมทั้ง ๘ บทนี้ย่นย่อลงให้เหลือเพียง ๓ คำ อันเป็นหัวใจของนะโม ๘ คือ มะ อะ อุ เป็นคำนิยมใช้ในมนต์คาถาต่างๆ มะ มาจากคำว่า มหาสังโฆ หมายถึง พระสงฆ์, อะ มาจากคำว่า อรหัง สัมมาสัมพุทโธ หมายถึง พระพุทธเจ้า, อุ มาจากคำว่า อุตตมธัมโม หมายถึง พระธรรม นอกจากนี้ มะ อะ อุ ยังรวมให้เหลือเพียงคำเดียวก็ได้ คือคำว่า “โอม” ซึ่งเป็นคำที่นิยมใช้ขึ้นต้นหรือลงท้ายมนต์คาถาต่างๆ คำว่า โอมเพี้ยง โดยความหมายก็คือน้อมเอาพลานุภาพของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มาช่วยดลให้บังเกิดผลตามที่เสกเป่านั่นเอง