บทชุมนุมเทวดา

บทชุมนุมเทวดา

(ถ้าจะสวด ๗ ตำนานให้สวดดังนี้)

สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง
ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ (สำหรับราชพิธี)

ผะริต๎วานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา
อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ.
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา.

(ถ้าจะสวด ๑๒ ตำนานให้สวดดังนี้)

สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา
สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทังฯ

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ.
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา.

คำแปลบทชุมนุมเทวดา

ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงมีจิตเมตตา แผ่เมตตาจิตไปว่าขออานุภาพพระปริตร จงรักษา
พระราชาผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน พร้อมด้วยราชสมบัติ พร้อมด้วยพระราชวงศ์ พร้อมด้วยเสนามาตย์
แล้วอย่ามีจิตฟุ้งซ่าน ตั้งใจสวดพระปริตรเถิด.


ข้าพเจ้า ขออัญเชิญหมู่เทวดาทั้งหลาย ที่สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นกามภพก็ดี รูปภพก็ดี.


และขอเชิญภุมเทวดาทั้งหลาย ผู้สิงสถิตอยู่บนยอดเขาและที่หุบเหวก็ดี ที่วิมานบนอากาศ
ก็ดี ที่เกาะก็ดี ที่แว่นแคว้นก็ดี ที่บ้านก็ดี ที่ต้นไม้ใหญ่และป่าชัฏก็ดี ที่เรือนก็ดี ที่ไร่และนาก็ดี.


รวมถึงยักษ์ คนธรรพ์ และพญานาค ที่อาศัยอยู่ในน้ำ บนบกที่ลุ่ม ที่ดอนทั้งหลาย จงมา
ประชุมกัน ขอเทวดาผู้เป็นสาธุชนทั้งหลาย ผู้มายืนอยู่ ณ ที่ใกล้แล้ว จงสดับคำสอนอันประเสริฐ
ของพระมุนี จากข้าพเจ้า.


ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาแห่งการฟังธรรม.
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาแห่งการฟังธรรม.
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาแห่งการฟังธรรม.

ใจความสำคัญ : เป็นบทสวดเพื่ออัญเชิญเทวดาที่สิงสถิตในวิมานบนอากาศและภาคพื้นดิน ทุกถิ่นสถานให้มาประชุมกันเพื่อร่วมฟังการสวดพระพุทธมนต์อันเป็นคำของพระพุทธเจ้า บทชุมนุมเทวดาในปัจจุบันมี ๒ แบบ คือ แบบที่ ๑ ตามที่ปรากฏในเรื่องนี้ แบบที่ ๒ ขึ้นต้นว่า สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง ตามด้วย สัคเค กาเม จะ รูเป ไปจนจบ เทวดาตามหลักพุทธศาสนาแบ่งเป็น ๒ จำพวก คือ ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่ตามภาคพื้น เช่น ภูเขา ต้นไม้ อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่มีวิมานบนอากาศ ถ้าแบ่งตามชั้นของสวรรค์มี ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี

ประวัติ : ไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าใครเป็นผู้แต่ง และแต่งขึ้นเมื่อไหร่

ที่มา : สวดมนต์ฉบับหลวง สมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว) หน้า ๑

ประยุกต์ใช้ : ผู้ที่เกิดเป็นเทวดาส่วนใหญ่เคยเกิดเป็นมนุษย์และได้ทำบุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ คือ ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวานา เทวดามีธรรมประจำจิตอยู่ ๒ ประการ เรียกว่า เทวธรรม คือ หิริ ความละอายต่อบาป โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป พระพุทธเจ้าตรัสว่า ใครมีธรรม ๒ ประการนี้ในตัว ผู้นั้นได้ชื่อว่า มนุสสเทโว มนุษย์ที่เป็นเทวดา

บทสวด ๗ ตำนาน มีดังนี้

๑. มงคลสูตร
๒. รตนสูตร หรือรตนปริตร
๓. กรณียเมตตสูตร หรือ เมตตปริตร
๔. อหิราชกสูตร หรือ ขันธปริตร (และโมรปริตร)
๕. ธชัคคสูตร
๖. อาฏานาฎิยสูตร
๗. องคุลิมาลปริตร (และโพชฌงคปริตร)

บทสวด ๑๒ ตำนาน มีดังนี้

๑. มงคลสูตร
๒. รตนสูตร หรือรตนปริตร
๓. กรณียเมตตสูตร หรือ เมตตปริตร
๔. ขันธปริตร (และฉัททันตปริตร)
๕. โมรปริตร
๖. วัฏฏกปริตร (คาถานกคุ่ม)
๗. ธชัคคสูตร
๘. อาฏานาฎิยสูตร
๙. องคุลิมาลปริตร
๑๐. โพชฌงคปริตร
๑๑. อภยปริตร
๑๒. ชยปริตร


รวบรวมเรียบเรียงโดย
ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์
น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ. (ภาษาไทย)
บรรณาธิการแห่งสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


หนังสือที่มีบทสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน

SHOPPING CART

close