,

คู่มือมนุษย์เล่ม ๓ อุปาทาน ๔

Availability:

สินค้าหมดแล้ว


รหัส isbn 978-616-704-745-4
ขนาดสินค้า 14.5 x  21.0  เซ็นติเมตร
กระดาษใช้พิมพ์ ปอนด์
ความหนา 70  แกรม
น้ำหนัก 130  กรัม
สีหมึกพิมพ์ 4  สี
จำนวนหน้า 80  หน้า
ราคาปก 48  บาท

48฿

สินค้าหมดแล้ว

รายละเอียดเนื้อหาภายในประกอบด้วย
๑. พุทธศาสนามุ่งแก้ปัญหาทุกข์ทางใจซึ่งลึกกว่าความมุ่งหมายของศีลธรรม
๒. ความทุกข์เปรียบได้กับ โรคกาย โรคจิต โรคทางวิญญาณ
– อวิชชา ตัณหา อุปาทาน สาเหตุทำให้คนป่วยทางวิญญาณ
– เมื่อเข้าใจเรื่องโรคทางวิญญาณ จะเห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น
๓. รู้จักกิเลสที่เป็นเหตุให้ยึดถือ จะทำให้ไม่ยึดติดและรู้พุทธศาสนาถึงที่สุด
๔. อุปาทาน ๔ ตัวการสำคัญที่ทำให้หลงยึดถือในสิ่งทั้งปวง
๕. กามุปาทาน คือ การยึดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ
– ความยึดมั่นในกาม คือเหตุนำไปสู่ความฉิบหาย
– รัก โกรธ เกลียด ล้วนมีมูลมาจากกามารมณ์
– มนุษย์ทำอะไรทุกอย่าง สุดท้ายเพื่อกามารมณ์
– แม้แต่เรื่องทำบุญ ออกบวช ก็ไม่พ้นเพราะกามารมณ์เป็นเหตุ
– กามทำให้โลกตั้งอยู่หรือแตกสลายก็ได้
– กามุปาทาน มีประโยชน์บ้างในทางโลก แต่สร้างทุกข์โศกมากมายในทางธรรม
๖. ทิฏฐุปาทาน คือ การยึดมั่นในความคิดความเห็นของตน
– ทิฏฐิเรื่องธรรมชาติที่ต้องพัฒนาให้ถูกต้องจนถึงที่สุด
– ทิฏฐิความเห็นที่สุดโต่ง มักเกี่ยวกับศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี
– ทั้งที่รู้ว่าเห็นผิด แต่ไม่ยอมละ คือลักษณะที่ร้ายกาจของทิฏฐิ
๗. สีลัพพตุปาทาน คือ การยึดถือในข้อวัตรปฏิบัติอันเก่าแก่อย่างไร้เหตุผล
– สีลัพพตปรามาสของคนไทยคือเรื่องที่ถือปฏิบัติตามกันมา โดยเชื่อว่าขลัง ศักดิ์สิทธิ์
– ประพฤติศีล ปฏิบัติธรรมโดยไม่ทราบความมุ่งหมาย ก็กลายเป็นความยึดมั่นที่แก้ยาก
– การปฏิบัติธรรมก็กลายเป็นสีลัพพตปรามาสได้ ถ้าปฏิบัติเพื่อหวังความศักดิ์สิทธิ์
– ระวัง อย่าให้ตกหลุมพรางของสีลัพพตุปาทาน
๘. อัตตวาทุปาทาน คือ การยึดถือว่ามีตัวตน
– ความรู้สึกว่ามีตัวตน เป็นสัญชาตญาณมูลฐานของการมีชีวิต
– ความยึดถือว่าตัวตน เป็นมูลฐานให้ชีวิตอยู่รอด แต่ก็เป็นมูลฐานแห่งทุกข์ควบคู่กัน
– อุปาทาน คือ มูลฐานให้เกิดภพชาติ ฆ่าอุปาทานได้แล้ว ภพชาติก็ดับ ทุกข์ก็สิ้น
– ความยึดถือว่ามีตัวตน เป็นความรู้สึกนึกคิดที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด
– บางครั้งเราก็ยึดสิ่งที่ไม่มีชีวิตว่ามีตัวตน
– ต้องสร้างความรู้ทางธรรมให้มากถึงที่สุด จึงจะหยุดความเห็นว่ามีตัวตนได้
– อุปาทานเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าศึกษาและควบคุมดีแล้ว จะเป็นอิสระจากกิเลส
– ควบคุมอุปาทานไม่ได้ ก็ยากที่จะทำหน้าที่ให้สำเร็จตามอุดมคติ แถมยังเกิดผลร้ายตามมา
๙. จิตหลุดพ้นจากอุปาทานเมื่อใด ก็ถึงเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนาเมื่อนั้น
– ต้องอาศัยพุทธปัญญา จึงจะนำพาชีวิตพ้นทุกข์ได้
– จิตหลุดพ้นจากอุปาทาน คืออวสานของการประพฤติพรหมจรรย์
แวะเล่าชาดก : โดย… ณัฐพันธ์ ปิ่นทวีเกียรติ

SHOPPING CART

close